ข้ามไปเนื้อหา

เสกสกล อัตถาวงศ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เสกสกล อัตถาวงศ์
เสกสกล อัตถาวงศ์ ในปี พ.ศ. 2567
ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 18 เมษายน พ.ศ. 2565
(2 ปี 282 วัน)
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด8 เมษายน พ.ศ. 2507 (60 ปี)
อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย
พรรคการเมืองกิจสังคม (2531–2533)
ความหวังใหม่ (2533–2539)
ประชาธิปัตย์ (2539–2542)
ไทยรักไทย (2542–2550)
เพื่อไทย (2555—2561)
พลังประชารัฐ (2561–2563, 2563–2565, 2565)
เทิดไท (2565)
รวมไทยสร้างชาติ (2565, 2566)
ชื่อเล่นแรมโบ้

เสกสกล อัตถาวงศ์ (เดิม: สุภรณ์ อัตถาวงศ์) ชื่อเล่น แรมโบ้ เป็นนักการเมืองชาวไทย ตำแหน่งที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค)[1] กรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย[2] อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคไทยรักไทย และเคยเป็นแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน

ประวัติ

[แก้]

เสกสกล อัตถาวงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2507 ที่ตำบลแชะ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา เป็นบุตรของนายประวัติ-นางสุ้น อัตถาวงศ์ และเป็นน้องชายของนายสัมภาษณ์ อัตถาวงศ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา และพี่ชายนาย ชนะศักดิ์ อัตถาวงศ์​ ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค)

การศึกษา

[แก้]
  • ปริญญาตรี ศิลปศาสตร์บัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ปริญญาโท ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ปริญญาเอก สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

การอบรม

[แก้]
  • หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง การเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่ 8 สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า (4 ส 8)
  • หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 25 (ปปร.25)  วิทยาลัยการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
  • โครงการพัฒนาเครือข่ายและศักยภาพของผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัย และนวัตกรรม (หลักสูตร WiNS) รุ่นที่ 2  กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  • หลักสูตรนักบริหารด้านสิทธิมนุษยชน ระดับสูง (บสส.) รุ่นที่ 1 สถาบันพัฒนาสิทธิมนุษยชน กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม

การทำงาน

[แก้]

นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ เริ่มทำงานที่บริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เป็นเจ้าหน้าที่กองหนังสือเดินทาง กระทรวงการต่างประเทศ และใช้เวลาว่างเป็นผู้ช่วยผู้ดำเนินงานสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (พล.อ.อ.สิทธิ เศวตศิลา) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครราชสีมา พรรคกิจสังคม , เป็นผู้ช่วยทำงานให้เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม , เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ , รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ต่อมาจึงได้ย้ายติดตามนายมนตรี ด่านไพบูลย์ มาสังกัดพรรคความหวังใหม่ หลังจากนั้นได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าอาสาสมัครรณรงค์เลือกตั้งของพรรคความหวังใหม่ ในปี พ.ศ. 2538 และลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ครั้งแรกที่จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในปี พ.ศ. 2539 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง

การเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2544 นายสุภรณ์ฯ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งในสังกัดพรรคไทยรักไทย[3] และได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ส. ครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[4] และในปี พ.ศ. 2555 ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 ได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 74[5]

ในปี พ.ศ. 2561 นายสุภรณ์ฯ ได้ย้ายเข้ามาร่วมงานกับพรรคพลังประชารัฐ ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[6] ภายหลังจึงได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี และได้รับมอบหมายให้กำกับดูแลการแก้ไขปัญหาสลากกินแบ่งรัฐบาลที่มีราคาแพง

ในปี พ.ศ. 2565 ได้ลาออกจากพรรคพลังประชารัฐ และเข้าร่วมพรรครวมไทยสร้างชาติ[7] กระทั่งในเดือนเมษายนของปีเดียวกัน ได้ลาออกจากตำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ และยุติบทบาทในพรรครวมไทยสร้างชาติ เนื่องจากกรณีคลิปเสียงเกี่ยวกับการจัดผลประโยชน์ในโควต้าสลากกินแบ่งรัฐบาล[8] กระทั่งวันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2565 นายเสกสกลฯ ได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติอย่างเป็นทางการต่อ คณะกรรมการการเลือกตั้ง[9] ต่อมาในวันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 นายเสกสกลฯ ได้รับเลือกตั้งเป็นหัวหน้าพรรคเทิดไท[10] ก่อนจะลาออกจากสมาชิกพรรคเมื่อวันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ทำให้ต้องพ้นจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคไปโดยปริยาย และกลับเข้าร่วมเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติอีกครั้ง[11] ในวันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2566 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี[12] ต่อมาวันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม 2566 ได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองทำให้พ้นจากตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคโดยให้มีผลทันที[13]

การร่วมชุมนุมทางการเมือง

[แก้]

นายสุภรณ์ฯ เข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองกับกลุ่ม นปช. ได้ขึ้นปราศรัยบนเวทีและร้องเพลง"กตัญญู ทักษิณ" จนกระทั่งรัฐบาลสั่งการปฏิบัติการณ์กระชับวงล้อมในวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 และแกนนำ นปช. ประกาศสลายการชุมนุมไปเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ที่สี่แยกราชประสงค์ นายสุภรณ์ฯ ได้ส่งตัวแทนชี้แจงว่าจะเข้ามอบตัวต่อ ศอฉ. หลังจากยกเลิกเคอร์ฟิว จากนั้นก็หายตัวไปและไม่ติดต่อกลับมาอีก แหล่งข่าวจำนวนหนึ่งอ้างว่านายสุภรณ์ฯ ไปหลบซ่อนตัวในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งก็ไม่มีหลักฐานยืนยันแต่ประการใด

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. “พีระพันธุ์” ตั้ง 11 คณะที่ปรึกษารองนายกฯ “เสธ.หิ-แรมโบ้-สายัณห์” นั่งด้วย
  2. โปรดทราบ! “แรมโบ้” เปลี่ยนชื่อแล้ว ต่อไปต้องเรียก “ดร.เสกสกล”
  3. ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-11-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  4. "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
  5. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  6. พลวุฒิ สงสกุล (19 กันยายน 2561). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "หนี พปชร. อีกราย "ปรพล อดิเรกสาร" ไปพรรครวมไทยสร้างชาติ ตามคำชวน "แรมโบ้"". www.thairath.co.th. 2022-02-06.
  8. "แรมโบ้ เสกสกล" โชว์สปิริต! ประกาศลาออกทุกตำแหน่ง เซ่นคลิปหยอกยืมเงิน
  9. เพื่อภาพพจน์ที่ดี! "แรมโบ้ เสกสกล" ลาออกจากสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ
  10. มติพรรคเทิดไท ตั้ง "แรมโบ้" เป็นหัวหน้า ลั่นเป็นอีกบ้านหนุน "บิ๊กตู่"
  11. ไปไหนไปกัน! 'แรมโบ้'ลาออกหน.พรรคเทิดไท ย้ายซบ'รทสช.'เสริมทัพ'บิ๊กตู่'
  12. ด่วน! นายกฯเซ็นตั้ง ‘แรมโบ้อีสาน’ นั่งที่ปรึกษานายกฯ
  13. ‘แรมโบ้’ ลาออกจากสมาชิก รทสช. ‘แม่เลี้ยงติ๊ก’ เลื่อนลำดับเป็น สส.บัญชีรายชื่อแทน
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2022-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๘, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๓๘, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗